หนังสือสัญญาค้ำประกัน
สัญญานี้ทำขึ้นที่___________เมื่อวันที่___ เดือน________พ.ศ ______ระหว่าง
ก. นาย/นาง/นางสาว___________________________________อายุ________ปีอยู่บ้าน
เลขที่__________ ถนน_______________________________ ตำบล_________
อำเภอ_____________________จังหวัด______________________________ซึ่งต่อไป
จะเรียกว่า"เจ้าหนี้" ฝ่ายหนึ่งกับ
ข. นาย/นาง/นางสาว.__________________________________อายุ________ปีอยู่บ้าน
เลขที่__________.ถนน_______________________________ ตำบล___________
อำเภอ__________จังหวัด___________ ซึ่งต่อไปจะเรียกว่า "ผู้ค้ำประกัน" อีกฝ่ายหนึ่ง ทั้ง
สองฝ่ายตกลงทำสัญญากันดังต่อไปนี้
ข้อ 1. ตามที่ นาย/นาง/นางสาว_________________________ซึ่งต่อไปจะเรียกว่า "ลูกหนี้"
ได้ทำสัญญา_________ลงวันที่ ____เดือน.___________พ.ศ.__________กับเจ้าหนี้ซึ่งต่อ
ไปจะเรียกว่า "สัญญา" โดยผู้ค้ำประกันได้ทราบและเข้าใจเงื่อนไขสัญญาเป็นอย่างดีแล้ว ผู้ค้ำ
ประกันตกลงและยินยอมผูกพันตนต่อเจ้าหนี้เพื่อค้ำประกันหนี้และจะชำระหนี้พร้อมดอกเบี้ยและ
บรรดาค่าเสียหายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ภายในวันที่______ เดือน__________ พ.ศ._________
ในวงเงินทั้งหมดไม่เกิน__________________บาท (_______________________) และ
จะไม่ถอนการค้ำประกันจนกว่าลูกหนี้จะปราศจากหนี้หรือความรับผิดใด ๆ ต่อ เจ้าหน้าที่แล้ว
ในกรณีที่ลูกหนี้ผิดนัดหรือผิดสัญญาหรือมีหนี้สินใด ๆ ค้างชำระผู้ค้ำประกันตกลงยินยอมให้เจ้า
หนี้ใช้สิทธิเรียกร้องแก่ผู้ค้ำประกัน และใช้สิทธิบังคับประกัน (หากมี) เพื่อชำระหนี้ทั้งหมดหรือ
บางส่วนได้ทันที
ข้อ 2. ผู้ค้ำประกันตกลงมอบหลักประกันการชำระหนี้ตามสัญญาให้แก่เจ้าหนี้ดังต่อไปนี้
1._______2._____และเจ้าหนี้จะคืนหลักประกันให้แก่ผู้ค้ำประกันภายหลังจากที่สัญญานี้สิ้น
สุดลงและลูกหนี้ไม่มีความรับผิดและหนี้ค้างชำระต่อเจ้าหนี้ แต่หากระหว่างสัญญานี้ยังมีผลใช้
บังคับแต่หลักประกันลดน้อยลงผู้ค้ำประกันตกลงจะส่งมอบเพิ่มเติมให้เต็มจำนวนเดิมทันทีที่เจ้า
หนี้เรียกร้อง
ข้อ 3. การบอกกล่าวทวงถามหรือส่งเอกสารใดไปยังภูมิลำเนาของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งตามที่รา
กฏในสัญญานี้ ให้ถือว่าเป็นการส่งโดยชอบและออีกฝ่ายหนึ่งได้รับทราบแล้วนับแต่วันที่คำ
บอกกล่าวหรือเอกสารนั้นพึงไปถึงตามปกติ
สัญญานี้ทำขึ้นเป็นสองฉบับ มีข้อความถูกต้องตรงกันทั้งสองฝ่ายได้ทราบและเข้าใจข้อความ
โดยตลอดดีแล้วเห็นว่าถูกต้องตรงตามเจตนาของตน จึงลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญต่อหน้าพยาน
และต่างยึดถือไวฝ่ายละฉบับ
ลงชื่อ_______________เจ้าหนี้
(......................................)
ลงชื่อ__________________ผู้ค้ำประกัน
(.......................................)
ลงชื่อ___________________พยาน
(.......................................)
ลงชื่อ____________________พยาน
(........................................)
ภาระจำยอมที่เกิดจากการจัดสรรที่ดินขาย
เจ้าของโครงการจัดสรรที่ดินได้กันทางเดินพิพาทไว้เป็นทางเข้าออกสำหรับตึกแถวที่แบ่งขายในการก่อสร้างตึกแถวเจ้าของโครงการได้ก่อสร้างตึกแถวทำกันสาดปูนซิเมนต์รุกล้ำเข้าไปในที่ดินแปลงที่เป็นทางเดินยื่นออกไป 1.5 เมตรต่อมาเจ้าของโครงการถูกฟ้องเป็นคดีล้มละลาย โจทก์ในคดีนี้ซื้อที่ดินทางเดินจากการขายทอดตลาดและฟ้องขับไล่ผู้ซื้อตึกแถวศาลฎีกาเห็นว่าทางเดินตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินจัดสรรโดยผลของกฎหมายแล้วรวมถึงกันสาดที่ยื่นออกไปด้วย
http://www.peesirilaw.com/ครอบครองปรปักษ์/ภาระจำยอมที่เกิดจากการจัดสรรที่ดินขาย.html
การครอบครองปรปักษ์ขาดตอนเมื่อเปลี่ยนเจ้าของ
การนับระยะเวลาครอบครองปรปักษ์ถือเอาระยะเวลาครอบครองของฝ่ายผู้ครอบครองที่ต้องครอบครองติดต่อกัน ไม่ต้องพิจารณาถึงตัวเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกครอบครองว่าจะได้โอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้อื่นหรือไม่ และไม่จำต้องถือเอาทางฝ่ายเจ้าของอสังหาริมทรัพย์แต่ละคนที่รับโอนกรรมสิทธิ์มาเป็นเกณฑ์ในการเริ่มนับระยะเวลาครอบครองใหม่ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนตัวเจ้าของหากบุคคลภายนอกรับโอนโดยสุจริต เสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนสิทธิโดยสุจริต
http://www.peesirilaw.com/ครอบครองปรปักษ์/การครอบครองปรปักษ์ขาดตอน.html
เจ้าของที่ดินมีสิทธิสร้างแผงร้านค้าบนทางภาระจำยอมหรือไม่?
สภาพของที่ดินภาระจำยอมใช้เป็นเพียงทางเดินเท่านั้น รถยนต์ไม่สามารถเข้าออกได้เพราะมีขั้นบันไดลงไปสู่ถนนสาธารณะ การที่เจ้าของที่ดินสร้างแผงร้านค้าโดยเว้นทางเท้าไว้ถึง 2.50 เมตร จึงไม่ทำให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกหรือไม่? ศาลเห็นว่าทางพิพาทซึ่งเป็นที่ดินที่ตกอยู่ในภาระจำยอมแก่ที่ดินของผู้อื่นนั้นเป็นทางที่ใช้สัญจรอยู่ในโครงการหมู่บ้านและที่ดินจัดสรร ดังนั้น ไม่ว่ารถยนต์จะสามารถเข้าออกทางได้หรือไม่ก็ตาม
http://www.peesirilaw.com/ครอบครองปรปักษ์/เจ้าของที่ดินมีสิทธิสร้างแผงร้านค้าบนทางภาระจำยอมหรือไม่.html
จดภาระจำยอมให้แค่เดินผ่านแต่ปลูกสร้างหลังคาและวางของขาย
ที่ดินของโจทก์จดทะเบียนภาระจำยอมให้เป็นทางเดินให้จำเลยใช้เป็นทางเข้าออกไปสู่ทางสาธารณะ แต่จำเลยได้ก่อสร้างหลังคานำวัสดุก่อสร้างมาวางจำหน่าย ทำที่จอดรถในทางภาระจำยอม จำเลยอ้างได้นำเอาวัสดุก่อสร้างมาวางจำหน่ายตั้งแต่ปี 2529 บิดามารดาโจทก์ มิได้คัดค้านศาลเห็นว่าที่ดินของโจทก์ตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของจำเลยในเรื่องทางเดิน โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะไปหวงห้ามมิให้เดินผ่าน จำเลยนำวัสดุก่อสร้างมาวางจำหน่ายบนทางภาระจำยอม
http://www.peesirilaw.com/ครอบครองปรปักษ์/จดภาระจำยอมให้เป็นทางเดิน.html
การรับช่วงสิทธิจะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยอำนาจของกฎหมาย
การที่นายจ้างจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลซึ่งเป็นเงินทดแทนแก่ลูกจ้าง กรณีที่ลูกจ้างประสบอันตรายถึงแก่ความตายอันเนื่องมาจากการทำงานให้แก่นายจ้าง กฎหมายไม่ได้ให้สิทธิแก่นายจ้างเรียกเอาเงินทดแทนที่จ่ายไปนั้นคืนจากผู้ทำละเมิดต่อลูกจ้าง ดังนั้นนายจ้างจึงไม่อาจอ้างการรับช่วงสิทธิมาฟ้องเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลที่นายจ้างจ่ายไปคืนได้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7630/2554) การรับช่วงสิทธิจะมีได้จึงต้องเป็นกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติให้รับช่วงสิทธิได้
http://www.peesirilaw.com/รับช่วงสิทธิ/การรับช่วงสิทธิ.html
ออกเช็คไม่ลงวันที่ไม่มีความผิดทางอาญา?
ถือได้ว่าเช็คดังกล่าวไม่มีวันที่ออกเช็คและวันที่ผู้ออกเช็คกระทำความผิด การที่ภริยานำเช็คมาสลักหลังและเป็นผู้ลงวันที่สั่งจ่ายเองตามที่ภริยาตกลงกับผู้รับเช็ค(ผู้ทรง)ในภายหลังก็เป็นเพียงแต่ให้เช็คมีรายการต่างๆ สมบูรณ์ตามกฎหมายเพื่อฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ในทางแพ่งเท่านั้นไม่ทำให้ผู้ออกเช็คมีความผิดทางอาญา ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7152/2554)
http://www.peesirilaw.com/ตั๋วเงิน/ความผิดจากการใช้เช็ค.html
ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาทนายความ 0859604258 * www.peesirilaw.com *