ตัวอย่าง แบบพิมพ์ แบบฟอร์ม สัญญาโอนหุ้น
สัญญาโอนหุ้น
บริษัท……………………………………จำกัด สัญญานี้ทำขึ้น ณ ………………………………………………………………………… เมื่อวันที่………………….เดือน…………………………………………พ.ศ……………………… เพื่อเป็นหลักฐานแสดงการโอนหุ้นของบริษัท………………………………………………….จำกัด ดังมีข้อความต่อไปนี้
ข้อ 1. ผู้โอนชื่อ………………………………………………………………………………………. ข้อ 2. ผู้รับโอนชื่อ………………………………………สัญชาติ………………..อายุ…………ปี ข้อ 3. โอนหุ้นจำนวน………….หุ้น หมายเลขหุ้นตั้งแต่เลขที่……………..ถึงเลขที่……………… ข้อ 4. ผู้โอนตกลงโอนและผู้รับโอนตกลงรับโอนหุ้นดังกล่าวข้างบนนี้ โดยการ……………… แก่กัน ตั้งแต่วันที่……….เดือน……………………พ.ศ…………..เป็นราคาทั้งสิ้น…………บาท(………) ผู้โอนยอมขาดจากการเป็นผู้ถือหุ้น และผู้รับโอนยอมเข้าเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทนี้ตั้งแต่วันทำ สัญญานี้เป็นต้นไป
ข้อ 5. ผู้โอนได้รับเงินค่าโอนไปถูกต้องด้วยแล้วในวันทำสัญญานี้
ข้อ 6. ผู้โอนตกลงโอนสิทธิและประโยชน์ทั้งหลายที่ผู้โอนพึงมีพึงได้รับจากบริษัท ทั้งก่อน ในขณะและภายหลังวันโอนนี้ให้แก่ผู้รับโอนด้วย โดยให้ถือว่าได้รับค่าตอบแทนสิทธิและ ประโยชน์ที่โอนให้แก่ผู้รับโอนดังกล่าวรวมอยู่ในเงินค่าโอนตามสัญญานี้ด้วยแล้ว
ลงชื่อ………………..………….………………ผู้โอน (........................... ) ลงชื่อ………………………….………………ผู้รับโอน (.......................... ) ลงชื่อ………………………….………………พยาน ( ............................) ลงชื่อ………………………….………………พยาน ( ...........................)
อนุมัติให้โอนได้ ลงชื่อ………………………….………………กรรมการ (........................... ) ลงชื่อ………………………….………………กรรมการ
หมายเหตุ สัญญาโอนหุ้น ผู้โอน ต้องติดอากรแสตมป์ 1 บาท ต่อเงิน 1,000 บาทเศษของ 1,000 บาท ให้ติดอีก 1 บาท
สัญญาให้สิทธิอาศัย
ทำที่…………………………… วันที่………..เดือน…………………..พ.ศ……… หนังสือสัญญาฉบับนี้ทำขึ้นระหว่าง……………………………………… อยู่บ้านเลขที่………….ตรอก/ซอย……………ถนน……………ตำบล……………อำเภอ……… จังหวัด……………ซึ่งต่อไปในสัญญานี้เรียกว่า “ผู้ให้อาศัย” ฝ่ายหนึ่ง กับ…………………… อยู่บ้านเลขที่………….ตรอก/ซอย………………..ถนน……………ตำบล……………อำเภอ……… จังหวัด……………ซึ่งต่อไปในสัญญานี้เรียกว่า “ผู้อาศัย” อีกฝ่ายหนึ่ง โดยผู้ให้อาศัย เป็นเจ้าของอาคาร/บ้านซึ่งอยู่เลขที่…………ตรอก/ซอย……………………… ถนน……………ตำบล……………อำเภอ………...จังหวัด……………รวมทั้งทรัพย์สินทั้งหลายซึ่งอยู่ ในบ้านดังกล่าว ซึ่งต่อไปในสัญญานี้เรียกว่า “โรงเรือน” ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงทำสัญญากันดังต่อไปนี้
ข้อ 1. ผู้ให้อาศัยตกลงให้ผู้อาศัยมีสิทธิอาศัยในโรงเรือนซึ่งเป็นของผู้ให้อาศัย โดยผู้อาศัย ไม่ต้องเสียค่าเช่าแก่ผู้ให้อาศัย
ข้อ 2. สิทธิอาศัยดังกล่าว ให้มีกำหนดระยะเวลา…………ปี
ข้อ 3. เมื่อกำหนดระยะเวลาแห่งสิทธิอาศัยได้หมดสิ้นลงแล้ว คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายจะตกลง กันต่ออายุในการให้สิทธิอาศัยต่อไปได้อีก แต่ต้องตกลงกันก่อนสิ้นกำหนดระยะเวลาแห่งสิทธิ อาศัยตามสัญญานี้
ข้อ 4. สิทธิอาศัยในโรงเรือนนี้ ให้รวมถึงการอยู่อาศัยของบุคคลในครอบครัว และบริวาร ของผู้อาศัย
ข้อ 5. ผู้อาศัยมีสิทธิที่จะเก็บเอาดอกผลธรรมดาแห่งที่ดินที่โรงเรือนตั้งอยู่ เพียงที่จำเป็นแก่ ความต้องการของครัวเรือนเท่านั้น
ข้อ 6. ผู้อาศัยจะโอนสิทธิอาศัยไปให้แก่ผู้อื่น หรือบุคคลภายนอกไม่ได้ และหากผู้อาศัย ตายสิทธิอาศัยดังกล่าวย่อมถือว่า เป็นอันสิ้นสุดลงทันที แม้จะยังไม่ครบตามกำหนดระยะเวลาใน สัญญานี้ก็ตาม
ข้อ 7. เมื่อสิทธิอาศัยของผู้อาศัย ได้สิ้นสุดลงแล้วไม่ว่าในกรณีใด ผู้อาศัยต้องส่งมอบ ทรัพย์สินซึ่งเป็นของผู้ให้อาศัย พร้อมทั้งโรงเรือนแก่ผู้ให้อาศัยโดยทันที
ข้อ 8. ผู้อาศัยจะใช้โรงเรือนเพื่อการอย่างอื่น นอกจากที่ใช้กันตามประเพณีนิยมปกติไม่ได้
ข้อ 9. ผู้อาศัยจำต้องสงวนรักษาโรงเรือนเสมือนกับที่วิญญูชนจะพึงสงวนทรัพย์สินของตน เองและจะต้องบำรุงรักษา ทั้งทำการซ่อมแซมเล็กน้อยด้วย
ข้อ 10. ผู้อาศัยจะทำการดัดแปลง หรือต่อเติมอย่างหนึ่งอย่างใดแก่โรงเรือนไม่ได้ เว้นแต่ จะได้รับความยินยอมจากผู้ให้อาศัย
ข้อ 11. ผู้อาศัยจะต้องรับผิดในความสูญหายหรือบุบสลายอย่างใด ๆ อันเกิดแก่โรงเรือนที่อาศัย เว้นแต่ความสูญหายหรือบุบสลายอันเกิดแต่การใช้ทรัพย์สินนั้นโดยชอบ
หนังสือสัญญานี้ทำขึ้นเป็นสองฉบับ มีข้อความถูกต้องตรงกันทั้งสองฝ่ายได้อ่านและเข้าใจ ข้อความในสัญญาโดยตลอดแล้ว จึงลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญต่อหน้าพยาน
ลงชื่อ……………………………………ผู้ให้อาศัย ( .............................) ลงชื่อ…………………....…………………ผู้อาศัย ( ............................) ลงชื่อ………......……………………………พยาน (............................ ) ลงชื่อ………………….....…………………พยาน (............................ )
หมายเหตุ 1. สิทธิอาศัยนั้น มีเฉพาะสิทธิอาศัยในโรงเรือนเท่านั้น ถ้าเป็นเรื่องที่ดินอาจเป็นเรื่องสิทธิเหนือพื้นดิน หรือ สิทธิเก็บกิน 2. ผู้อาศัยไม่ต้องเสียค่าเช่าแก่ผู้ให้อาศัย เพราะถ้าหากมีการเสียค่าเช่าแล้วก็ไม่เรียกว่า เป็นสิทธิอาศัย แต่เป็นเรื่องการเช่า 3. สิทธิอาศัยอาจมีกำหนดเวลา หรือไม่มีกำหนดเวลา หรือจะกำหนดว่าให้มีสิทธิอาศัยตลอดอายุผู้อาศัยก็ได้ กรณีมีกำหนดเวลาต้องไม่เกิน 30 ปี ถ้ากำหนดไว้เกินกว่านั้น ใช้บังคับได้ เพียง 30 ปี เมื่อครบกำหนดแล้วจะต่ออายุอีกก็ได้ แต่ต้องไม่เกิน 30 ปี นับแต่วันต่ออายุสัญญา 4. สิทธิอาศัยจะโอนกันไม่ได้ แม้โดยทางมรกดก็จะไม่ตกทอดไปยังทายาทสัญญาให้สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน ควรมีสัญญาข้อหนึ่ง กำหนดให้ผู้ให้สัญญาต้องไปจดทะเบียนด้วย
ออกเช็คไม่ลงวันที่ไม่มีความผิดทางอาญา? ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาทนายความ 0859604258 * www.peesirilaw.com *
|