สัญญากู้ยืมเงินตามประมวลกฎหมายใหม่
เขียนที่.........................
วันที่........เดือน.........พ.ศ. 25
ข้าพเจ้า..........................ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่าผู้กู้ฝ่ายหนึ่ง อายุ..........ปี
บ้านเลขที่..............ตำบล / แขวง.............อำเภอ / เขต...............
จังหวัด....................................ได้ทำหนังสือสัญญากู้เงินให้ไว้แด่............................
ดังมีข้อความต่อไปนี้
ข้อ 1 ผู้กู้ได้ยืมเงินของท่านผู้ให้กู้เป็นจำนวนเงิน...................บาท........................สตางค์
(................) และได้รับเงินนี้ไปเสร็จแล้วแต่วันทำสัญญานี้
ข้อ 2 ผู้กู้ยอมให้ดอกเบี้ยตามจำนวนที่กู้แก่ผู้ให้กู้ชั่งละหนึ่งบาทต่อเดือนนับแต่วันที่ทำสัญญานี้
เป็นต้นไป และยอมชำระดอกเบี้ยภายใน..........................................
ข้อ 3 ผู้กู้ยอมสัญญาว่าจะนำเงินที่กู้นี้มาชำระให้แก่ผู้ให้กู้ภายในวันที่....เดือน......พ.ศ. 25.......
ข้อ 4 เพื่อเป็นหลักฐานในการกู้ยืมเงินนี้ ผู้กู้ได้นำ ...................
.......................................................................................
มอบให้ไว้แก่ผู้ให้กู้เพื่อยึดไว้เป็นประกันเงินกู้ และผู้กู้ขอรับรองว่าทรัพย์สินที่ได้นำมามอบเป็น
ประกันไว้นี้เป็นทรัพย์สินของผู้กู้เอง และมิได้นำไปประกันหรือมีภาระติดพันในหนี้สินรายอื่นเลย
และขอรับรองว่าในระหว่างที่เอาทรัพย์สินดังกล่าวมามอบให้ยึดเป็นประกันเงินกู้รายนี้แล้ว ผู้กู้จะ
ไม่จำหน่ายจ่ายโอนหรือก่อให้มีภาระผูกพันธ์แก่ทรัพย์ที่ประกันเงินกู้รายนี้ ถ้าผู้กู้ทำผิดสัญญาข้อ
นี้ถือว่าผู้กู้หลอกลวงอันเป็นความผิดทางอาญาแผ่นดิน
ข้อ 5 ผู้กู้ยอมให้สัญญาว่า ถ้าผู้กู้ประพฤติผิดสัญญากู้นี้แต่ข้อหนึ่งข้อใด ผู้กู้ยอมให้กู้เรียกร้องต้น
เงินกู้คืนทันที่และยอมเสียค่าเสียหายต่าง ๆ ตลอดจนค่าพาหนะที่ต้องเสียไปในการทวงถามและ
ค่าธรรมเสียมในการฟ่องร้องให้แก่ผู้ให้กู้ทั้งสิ้น หากเป็นเรื่องผิดสัญญาชำระดอกเบี้ย ผู้กู้ยอมให้ผู้
ให้กู้คิดดอกเบี้ยที่ค้างทบต้นได้ด้วย
ข้อ 6 คู่สัญญาตกลงกันว่าผู้กู้จะชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระเงินไม่ได้เป็นอันขาด
ลงชื่อ...................................................ผู้กู้
(............................................)
ลงชื่อ...............................................ผู้ให้กู้
(............................................)
ลงชื่อ...............................................พยาน
(...........................................)
ลงชื่อ...............................................พยาน
(............................................)
ลงชื่อ.................สามี / ภริยาให้ความยินยอม
(...........................................)
ลงลายมือชื่อในเช็คโดยไม่มีอำนาจสั่งจ่ายเช็ค(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6798/2544)
จำเลยที่1 เป็นนิติบุคคลเปิดบัญชีกระแสรายวันกับธนาคารโดยให้ตัวอย่างลายมือชื่อสั่งจ่ายเป็นกรรมการบริษัท 4 คน โดยไม่มีตัวอย่างลายมือชื่อของนายประสิทธิ์ด้วย แม้นายประสิทธิ์ จะเป็นกรรมการคนหนึ่งผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทก็ตาม ก็ไม่มีข้อตกลงให้มีอำนาจลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คของธนาคาร แทนบริษัท คดีนี้นายประสิทธิ์ต้องการใช้เงินในการหาเสียงเลือกตั้ง ส.ส. จึงยืมเงินจากโจทก์ 4,500,000 บาท นายประสิทธิ์จึงขอยืมเช็คบริษัทให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทแล้วนายประสิทธิ์ลงลายมือชื่อด้วยเพื่อแสดงความรับผิดชอบ แล้วนำเช็คให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ส่วนตัว นายประสิทธิ์จึงต้องร่วมกันรับผิดตามเช็คพิพาทเป็นการส่วนตัวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 900
การฟ้องเท็จตามมาตรา 175
การที่จำเลยไปแจ้งว่ามีการปลอมลายมือชื่อเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานสอบสวนโดยรู้อยู่แล้วว่ามิได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น เป็นความผิดตามป.อาญา มาตรา 173 และเมื่อจำเลยเอาข้อความอันเป็นเท็จฟ้องโจทก์ต่อศาลว่ากระทำความผิดอาญา ทั้งที่จำเลยทราบความจริงอยู่แล้วว่าโจทก์มิได้กระทำความผิดอาญาใดๆ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการฟ้องเท็จอันเป็นความผิดตามมาตรา 175 อีกกระทงหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1424/2554
ทายาทรับผิดไม่เกินทรัพย์มรดก
ในฐานะผู้จัดการมรดกและทายาทของผู้ตายยอมรับสภาพหนี้ของผู้ตายต่อโจทก์นั้น ไม่อาจถือว่าได้ยอมเข้าผูกพันตนเป็นลูกหนี้แทนในลักษณะแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ ดังนั้นผู้จัดการมรดกจึงมิใช่ลูกหนี้โดยตรงของโจทก์แม้มีสิทธิรับมรดกแต่ก็รับผิดไม่เกินทรัพย์มรดกที่ตกทอดแก่ตน โจทก์จะนำหนี้ของผู้ตายมาฟ้องผู้จัดการมรดกให้ล้มละลายไม่ได้ แต่ชอบที่จะฟ้องขอให้จัดการทรัพย์มรดกของผู้ตายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3242/2543
ฟ้องคดีสมยอมสิทธิฟ้องคดีอาญาไม่ระงับ
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจะระงับไปเมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้อง และจะต้องปรากฏว่าคดีก่อนจำเลยถูกฟ้องร้องดำเนินคดีอย่างแท้จริง ไม่เป็นการฟ้องร้องดำเนินคดีอย่างสมอยอมกัน มิฉะนั้นถือไม่ได้ว่าจำเลยเคยถูกฟ้องและศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดอันจะมีผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดกรรมนั้นระงับไปไม่
http://www.peesirilaw.com/วิธีพิจารณาความอาญา/สิทธิฟ้องคดีอาญาระงับ.html
ฟ้องร้องคดีในลักษณะสมยอม
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว เห็นว่า จำเลยเคยถูกผู้เสียหายฟ้องเป็นคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 548/2537 ระหว่างเด็กหญิงเสาวณีย์ โจทก์ นางสาวจอมขวัญ จำเลย ซึ่งเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวกับคดีนี้ และคดีดังกล่าวศาลมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดแล้ว สิทธิในการนำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
http://www.peesirilaw.com/วิธีพิจารณาความอาญา/ฟ้องร้องคดีในลักษณะสมยอม.html
ผู้พิพากษาคนเดียวลงโทษจำคุก 8 เดือนได้หรือไม่?
โทษจำคุกไม่เกินหกเดือนที่ผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจลงแก่จำเลยตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (5) หมายถึงโทษที่วางก่อนลด??? หรือโทษสุทธิที่ศาลพิพากษาเมื่อลดโทษให้แล้ว โทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ที่ผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจลงแก่จำเลยตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25(5)นั้น หมายถึงโทษจำคุกสุทธิที่จะลงแก่จำเลย
http://www.peesirilaw.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538793756&Ntype=58
ไม่ได้บรรยายฟ้องว่ากระทำโดยพลาด
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยมีเจตนาฆ่า มิได้บรรยายฟ้องว่าเป็นการกระทำโดยพลาดมาด้วย ถือว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องหรือไม่??? แม้โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำโดยพลาดมาด้วย ก็ไม่ถือว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง อันจะเป็นเหตุให้ศาลต้อง
http://www.peesirilaw.com/วิธีพิจารณาความอาญา/บรรยายฟ้อง-ข้อเท็จจริงแตกต่าง.html
พนักงานสอบสวนมิได้ขอฝากขังต่อศาลภายในกำหนด
เมื่อพ้นอำนาจการควบคุมตัวผู้ต้องหาของพนักงานสอบสวนแล้ว พนักงานสอบสวนต้องปล่อยตัวผู้ต้องหาไป หาใช่เป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องไม่ เมื่อโจทก์ฟ้องคดีภายในอายุความโจทก์ย่อมมีสิทธินำคดีอาญามาฟ้องได้ ฎีกาของจำเลยที่ 1 ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4294/2550 การควบคุมตัวจำเลยที่ 1 ในชั้นสอบสวน ซึ่งพนักงานสอบสวน
http://www.peesirilaw.com/วิธีพิจารณาความอาญา/พนักงานสอบสวน-ฝากขัง.html
ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาทนายความ 0859604258 * www.peesirilaw.com *