
ศาลฎีกาไม่อาจกำหนดโทษจำเลยเพิ่มเติมได้
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ความผิดฐานพาผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์เต็มใจไปด้วย และฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์เต็มใจไปด้วย แม้จำเลยกระทำในคราวเดียวกัน แต่ก็เป็นความผิดต่อทั้งผู้เยาว์และมารดาของผู้เยาว์ เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์เต็มใจไปด้วยซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด กรณีที่โจทก์มิได้ฎีกา ศาลฎีกาไม่อาจกำหนดโทษจำเลยเพิ่มเติมได้ เพราะต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7695/2551
ความผิดฐานพาผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์เต็มใจไปด้วย และฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์เต็มใจไปด้วย แม้จำเลยกระทำในคราวเดียวกัน แต่ก็เป็นความผิดต่อทั้งผู้เยาว์และมารดาของผู้เยาว์ ถือได้ว่ามีเจตนากระทำความผิดให้เกิดผลเป็นกรรมในความผิดต่างฐานต่างหากจากกันจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่า ความผิดสองฐานดังกล่าวเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายบท ลงโทษฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์เต็มใจไปด้วยซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 นั้น เป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แต่ไม่อาจกำหนดโทษจำเลยเพิ่มเติมได้ เพราะต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212
________________________________
โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2548 เวลากลางวัน ถึงวันที่ 21 มกราคม 2549 เวลากลางวัน จำเลยพราก พา นางสาว ช. อายุ 17 ปีเศษ แต่ยังไม่เกิน 18 ปี ไปเสียจากนาง ช. ผู้เสียหาย ซึ่งเป็นมารดา โดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจารและกระทำชำเรา โดยนางสาว ช. เต็มใจไปด้วย ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 283 ทวิ, 319
จำเลยให้การรับสารภาพ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 283 ทวิ วรรคแรก, 319 วรรคแรก การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์เต็มใจไปด้วย ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ให้จำคุก 2 ปี จำเลยให้การรับสารภาพ เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษลดโทษให้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 1 ปี
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
จำเลยฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “ที่จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยในสถานเบานั้น เห็นว่าศาลอุทธรณ์กำหนดโทษจำเลยให้จำคุก 2 ปี ก่อนลดโทษให้เป็นการลงโทษขั้นต่ำตามที่กฎหมายบัญญัติ จึงไม่อาจกำหนดโทษให้เบาลงกว่านี้ได้อีก ส่วนที่จำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษจำคุกนั้น เห็นว่า การที่จำเลยพรากผู้เยาว์ซึ่งเป็นเด็กหญิงอายุกว่าสิบห้าปี แต่ยังไม่เกินสิบแปดปีไปเสียจากผู้เสียหายซึ่งเป็นมารดาเพื่อการอนาจารและกระทำชำเรา แม้ผู้เยาว์จะเต็มใจไปด้วยก็ตาม แต่ก็เป็นการกระทำที่สร้างความเสียหายแก่ผู้เยาว์ และทำความเดือนร้อนให้แก่ผู้เสียหาย ทั้งหลังเกิดเหตุจำเลยเพียงแต่อ้างในฎีกาว่าจำเลยยินยอมจดทะเบียนสมรสกับผู้เยาว์ แต่ผู้เสียหายไม่ยินยอมและยังเรียกร้องค่าเสียหายเป็นเงินจำนวนมากจนจำเลยไม่มีความสามารถที่จะชดใช้ได้ โดยไม่ปรากฏหลักฐานที่ชัดเจนเพื่อรับฟังให้เป็นยุติว่า จำเลยได้บรรเทาผลร้ายแห่งความผิดของตนตามสมควรแก่ผู้เสียหาย พฤติการณ์แห่งคดีนับว่าเป็นเรื่องที่ร้ายแรง ซึ่งจะต้องลงโทษจำเลยให้หลาบจำ ส่วนที่จำเลยไม่เคยกระทำความผิดมาก่อน และยังอยู่ในระหว่างศึกษาเล่าเรียน หรือมีเหตุอื่นดังที่จำเลยยกขึ้นอ้างในฎีกา ก็มิใช่เป็นเหตุผลเพียงพอที่จะรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลย ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยนั้นเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น
อนึ่ง สำหรับความผิดฐานพาผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์เต็มใจไปด้วย และฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์เต็มใจไปด้วย แม้จำเลยกระทำในคราวเดียวกัน แต่ก็เป็นความผิดต่อทั้งผู้เยาว์และมารดาของผู้เยาว์ ถือได้ว่ามีเจตนากระทำความผิดให้เกิดผลเป็นกรรมในความผิดต่างฐานต่างหากจากกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่า ความผิดสองฐานดังกล่าวเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์เต็มใจไปด้วยซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 นั้น เป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบ มาตรา 225 แต่ไม่อาจกำหนดโทษจำเลยเพิ่มเติมได้ เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212”
พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิด 2 กรรมต่างกัน ให้ปรับบทลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 283 ทวิ วรรคแรกด้วย สำหรับโทษและนอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
( พิทยา บุญชู - สิทธิชัย พรหมศร - พิษณุ ดำรงเกียรติวัฒนา )
มาตรา 319 ผู้ใดพรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปี แต่ยังไม่เกินสิบแปดปีไป เสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล เพื่อหากำไรหรือเพื่อการอนาจาร โดยผู้เยาว์นั้นเต็มใจไปด้วย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบปี และ ปรับตั้งแต่สี่พันบาทถึงสองหมื่นบาท
มาตรา 283ทวิ ผู้ใดพาบุคคลอายุเกินสิบห้าปีแต่ยังไม่เกินสิบแปดปี ไปเพื่อการอนาจาร แม้ผู้นั้นจะยินยอมก็ตาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
________________________________________________
ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาทนายความลีนนท์ 085 9604258 www.peesirilaw.com
ฟ้องคดีสมยอมสิทธิฟ้องคดีอาญาไม่ระงับ
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจะระงับไปเมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้อง และจะต้องปรากฏว่าคดีก่อนจำเลยถูกฟ้องร้องดำเนินคดีอย่างแท้จริง ไม่เป็นการฟ้องร้องดำเนินคดีอย่างสมอยอมกัน มิฉะนั้นถือไม่ได้ว่าจำเลยเคยถูกฟ้องและศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดอันจะมีผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดกรรมนั้นระงับไปไม่
http://www.peesirilaw.com/วิธีพิจารณาความอาญา/สิทธิฟ้องคดีอาญาระงับ.html
ฟ้องร้องคดีในลักษณะสมยอม
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว เห็นว่า จำเลยเคยถูกผู้เสียหายฟ้องเป็นคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 548/2537 ระหว่างเด็กหญิงเสาวณีย์ โจทก์ นางสาวจอมขวัญ จำเลย ซึ่งเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวกับคดีนี้ และคดีดังกล่าวศาลมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดแล้ว สิทธิในการนำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
http://www.peesirilaw.com/วิธีพิจารณาความอาญา/ฟ้องร้องคดีในลักษณะสมยอม.html
ผู้พิพากษาคนเดียวลงโทษจำคุก 8 เดือนได้หรือไม่?
โทษจำคุกไม่เกินหกเดือนที่ผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจลงแก่จำเลยตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (5) หมายถึงโทษที่วางก่อนลด??? หรือโทษสุทธิที่ศาลพิพากษาเมื่อลดโทษให้แล้ว โทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ที่ผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจลงแก่จำเลยตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25(5)นั้น หมายถึงโทษจำคุกสุทธิที่จะลงแก่จำเลย
http://www.peesirilaw.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538793756&Ntype=58
ไม่ได้บรรยายฟ้องว่ากระทำโดยพลาด
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยมีเจตนาฆ่า มิได้บรรยายฟ้องว่าเป็นการกระทำโดยพลาดมาด้วย ถือว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องหรือไม่??? แม้โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำโดยพลาดมาด้วย ก็ไม่ถือว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง อันจะเป็นเหตุให้ศาลต้อง
http://www.peesirilaw.com/วิธีพิจารณาความอาญา/บรรยายฟ้อง-ข้อเท็จจริงแตกต่าง.html
พนักงานสอบสวนมิได้ขอฝากขังต่อศาลภายในกำหนด
เมื่อพ้นอำนาจการควบคุมตัวผู้ต้องหาของพนักงานสอบสวนแล้ว พนักงานสอบสวนต้องปล่อยตัวผู้ต้องหาไป หาใช่เป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องไม่ เมื่อโจทก์ฟ้องคดีภายในอายุความ โจทก์ย่อมมีสิทธินำคดีอาญามาฟ้องได้ ฎีกาของจำเลยที่ 1 ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4294/2550 การควบคุมตัวจำเลยที่ 1 ในชั้นสอบสวน ซึ่งพนักงานสอบสวน
http://www.peesirilaw.com/วิธีพิจารณาความอาญา/พนักงานสอบสวน-ฝากขัง.html
หน้าที่นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐาน
โฉนดที่ดินเป็นเอกสารมหาชนย่อมสันนิษฐานไว้ก่อนว่าได้ออกมาโดยถูกต้อง เมื่อโฉนดที่ดินมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันย่อมสันนิษฐานได้ว่าจำเลยกับพี่น้องมีส่วนเป็นเจ้าของเท่ากัน การที่จำเลยอ้างว่าจำเลยได้รับส่วนแบ่งมากกว่าพี่น้องคนอื่น จำเลยจึงมีหน้าที่นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2115/2551 ศาลชั้นต้นพิพากษาให้..
http://www.peesirilaw.com/ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง/หน้าที่นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐาน.html
คำให้การจำเลยขัดแย้งกันเองไม่มีประเด็น
จำเลยให้การในตอนแรกว่าที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของของจำเลย แต่จำเลยกลับให้การในตอนหลังว่า จำเลยครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมาเกิน 10 ปีแล้ว กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทจึงเป็นของจำเลย คำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยจึงขัดแย้งกันทำให้รูปคดีไม่มีประเด็นเรื่องการครอบครองปรปักษ์
http://www.peesirilaw.com/การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์/คำให้การขัดแย้งกันเอง.html
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทนระบุชื่อศาลผิด
ตามหนังสือมอบอำนาจระบุว่าเป็นโจทก์และดำเนินคดียื่นฟ้องจำเลยต่อศาลแพ่ง โดยไม่มีข้อความว่ามอบอำนาจให้เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดฉะเชิงเทรา กรณีนี้ศาลฎีกาเห็นว่า ปรากฏว่าหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายนั้น เป็นหนี้ตามคำพิพากษาของศาลแพ่ง โดยโจทก์ได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งสามัญมาแล้ว สำหรับคดีล้มละลายก็
http://www.peesirilaw.com/ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง/อำนาจฟ้อง.html